ประวัติ
โครงการได้เริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) โดยประชาชนชาวฝรั่งเศสซึ่งประสงค์จะมอบของขวัญให้แก่ประชาชนชาวสหรัฐฯเพื่อเป็นเครื่องหมายเตือนความทรงจำรำลึกถึงสัมพันธภาพอันดีระหว่างสหรัฐฯและฝรั่งเศสในระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพในสหรัฐอเมริกา
คณะกรรมการคณะหนึ่งมีนาย เอดดูวาด เดอลาบูลาเย เป็นประธานประติมากรหนุ่มชื่อ เฟรเดอริก ออกุสเต บาร์ทอลดิ (Frederic Bartholdi) ซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งได้เดินทางไปยังสหรัฐฯ เพื่อศึกษาความต้องการในการก่อสร้างอนุสรณ์สถานและบาร์ทอลดิเกิดความคิดที่จะสร้างของขวัญเป็นอนุสรณ์สถานแห่งเสรีภาพขึ้นโดยคณะกรรมการฟรองโกอเมริกันจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ฝ่ายอเมริกันรับผิดชอบส่วนที่เป็นรากฐาน และได้วางแผนจะขอรับบริจาคเงินค่าใช้จ่ายจากเอกชนประมาณสองแสนห้าหมื่นอเมริกันดอลลาร์ (คิดเป็นเงินไทยประมาณห้าล้านบาทในขณะนั้น)
บาร์ทอลดิ เริ่มงานก่อสร้างอนุสรณ์สถานแห่งเสรีภาพขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2417 (ค.ศ.1874) โดยใช้มารดาของเขาเป็นนางแบบ เริ่มแรกทำรูปจำลองด้วยปูนปลาสเตอร์สูง 9 ฟุต 1 รูป และสูง 36 ฟุต อีก 1 รูป ในที่สุดก็สามารถกำหนดสัดส่วนของเทพีแห่งเสรีภาพได้แล้วก่อสร้างขึ้นด้วยโลหะผสมทองแดงกับเหล็กเพื่อความแข็งแกร่ง การวางแผนดำเนินการโครงการนี้ อยู่ในความอำนวยการของนายกุสตาฟไอเฟล ซึ่งเป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสผู้ก่อสร้างหอไอเฟล ในการนี้ต้องตีแผ่นทองแดงมากกว่า 300 แผ่น น้ำหนักรวม 90 ตัน
ภาพจาก Harper's Weekly ฉบับวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885)
ในขณะเดียวกัน ฝ่ายอเมริกันก็เริ่มงานสร้างฐานไปพร้อมกันโดยได้เลือกสถานที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์นี้ที่เกาะเบดโล ซึ่งชื่อเกาะนี้ตั้งตามชื่อของเจ้าของดั้งเดิมคือ ไอแซค เบดโล และได้เริ่มงานสร้างรากฐานเมื่อ พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881)
เมื่องานก่อสร้างเริ่มขึ้นแล้ว โครงการต้องหยุดชะงักไประยะหนึ่ง เพราะขาดเงินสนับสนุน แต่ต่อมา นายโจเซฟ ฟูลิตเซอร์ บรรณาธิการผู้มีชื่อเสียงของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กเวิลด์ ได้รณรงค์หาทุนให้โดยขอรับบริจาคจากมหาชนใน พ.ศ. 2428 (ค.ศ.1885) ทำให้งานก่อสร้างรากฐานสำเร็จลุล่วงในปลายปีเดียวกันนั้น
ส่วนของอนุสรณ์สถานที่เป็นรูปเทพีได้เดินทางมาถึงนครนิวยอร์กเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2428 (ค.ศ.1885) โดยจัดเป็นชิ้นๆบรรจุในหีบใหญ่ถึง 214 หีบ เมื่อมาถึงแล้วจึงนำชิ้นส่วนมาต่อกันและติดตั้งเป็นรูปร่างที่บนป้อมเก่า อยู่ทางปลายสุดของเกาะลิเบอร์ตี้ Liberty เดิมชื่อเกาะเบดโล Bedloe รูปปั้นนี้หนัก 254 ตัน ออกแบบเป็นรูปสตรีสวมเสื้อผ้าคลุมร่างตั้งแต่ไหล่ลงมาจรดปลายเท้า ท่วงท่าสง่างาม ศีรษะสวมมงกุฎ มือขวาถือคบเพลิงชูเหนือศีรษะ มือซ้ายถือหนังสือคำประกาศอิสรภาพตั้งแต่เวลาเย็นจนถึงกลางคืน ไฟจากคบเพลิงของเทพีแห่งเสรีภาพนี้จะเปล่งแสงสว่างผู้ที่ไปเยือนเพียงยืนอยู่ที่ฐานของอนุสรณ์สถานก็จะรู้สึกได้ถึงความใหญ่โตมโหฬารของอนุสาวรีย์แห่งนี้
ที่อนุสรณ์สถานมีทางเดินจากป้อมเข้าสู่ส่วนที่เป็นแท่นฐาน และที่ทางเข้ามีแผ่นบรอนซ์จารึกข้อความเป็นคำประพันธ์ซอนเนท แต่งโดย เอมมา ลาซารัส เมื่อ พ.ศ. 2416 (ค.ศ.1883)
เมื่อเดินเข้าไปในตัวเทพี จะมีบันไดเลื่อนพาสูงขึ้นไป 10 ชั้นแรก หรือบันได 167 ขั้น ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยขึ้นบันไดเวียน 12 ชั้น รวม 168 ขั้น ซึ่งจะขึ้นไปได้จนถึงศีรษะและมงกุฎของเทพีแห่งเสรีภาพ มีลานซึ่งจุคนได้ครั้งละ 20-30 คน จากลานนี้สามารถชื่นชมทิวทัศน์อันงดงามกว้างไกลของอ่าวนิวยอร์กตลอดไปทางเหนือ ซึ่งจะมองเห็นเมืองแมนฮัตตันและเขตธุรกิจการเงินและทิวทัศน์ทางใต้จะเห็นสะพานแคนเวอราซาโนด้วย
เทพีแห่งเสรีภาพนี้สูง 93.3 เมตร (306 ฟุต 8 นิ้ว) นับจากส่วนล่างถึงยอดคบไฟ เฉพาะตัวเทพีสูง 46.4 เมตร (152 ฟุต 2 นิ้ว) แขนขวายาว 12.8 เมตร (42 ฟุต) มือยาว 5.03 เมตร (16 ฟุต 5 นิ้ว) หนังสือในมือซ้ายของเทพีหนา 2 ฟุต ยาว 23 ฟุตครึ่ง จารึกว่า "July 4, 1776" ตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม 2319 อันเป็นวันประกาศอิสรภาพของสหรัฐอเมริกา ที่ปลายเท้าเทพีมีโซ่หักขาดชำรุด ซึ่งแสดงความหมายของการล้มล้างระบบทรราช
เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2429 (ค.ศ.1886) ประธานาธิบดีโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ ได้ประกอบพิธีเปิดอนุสรณ์สถานแห่งเสรีภาพ นายบาร์ทอลติ และ เฟอดินัน เดอ เลสเซน ซึ่งเป็นผู้สืบทอดงานจาก นายเอดดูวาร์ด เดอ ลาบูลาเย มาร่วมงานด้วย และในพิธีเปิดครั้งนั้นได้มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นคือ ขณะที่วุฒิสมาชิกกำลังอ่านคำปราศัยได้มีการให้สัญญาณเปิดผ้าคลุมออกก่อนกำหนดเวลา มีการยิงปืนใหญ่ ชาวเรือในอ่าวต่างตะโกนกู่ก้อง และฝูงชนที่มาชุมนุมร่วมพิธีเปิดต่างก็โห่ร้องแสดงความยินดีกันอึงคะนึง ขณะที่ผ้าคลุมเทพีเปิดออกเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าวุฒิสมาชิกยังคงอ่านคำปราศัยต่อไปจนจบ
วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
การประยุกต์ใช้ระบบสำนักงานอัตโนมัติของกระทรวงคมนาคม
กระทรวงคมนาคมได้มีการนำระบบสำนักงานอัตโนมัติ ประกอด้วยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆเข้ามาใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ระบบจัดการเอกสารได้แก่ การสื่อสารด้วยข้อความ E – mail , การใช้เครื่องโทรสาร, การใช้โทรศัพท์ ตลอดจนการใช้เครื่องถ่ายเอกสารในการทำสำเนาเอกสารหลายชุด ระบบจัดการด้านข่าวสาร การสื่อสารข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยอาศัยสัญญาณข้อมูลข่าวสารแบบอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบข่ายงาน ระบบข่ายงานที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ระหว่างกันทั่วองค์กร ระบบเครือข่ายแลน ตลอดจนระบบอินเตอร์เน็ต อินตราเน็ต (Intranet) เอ็กซตราเน็ต (Extranet) และเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารประชาสัมพันธ์ ระบบประชุมทางไกล วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ และสุดท้ายระบบสนับสนุนสำนักงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นระบบระบบ GFMIS ระบบสแกนลายนิ้วมือ ระบบคีย์การ์ด ประตูไฟฟ้า กลอนประตูไฟฟ้า การทำ 5 ส. การบริหารจัดสรรเวลา มาใช้เพื่อเพิ่มการจัดการการทำงานขององค์กร
วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553
บทสรุป เรื่อง RFID
บทสรุป
การพัฒนาระบบ RFID มิได้มีจุดประสงค์เพื่อมาแทนที่ระบบอื่นที่มีการพัฒนามาก่อนหน้า เช่นระบบบาร์โค้ด แต่เป็นการเสริมจุดอ่อนต่างๆ ของระบบอื่น ซึ่งแม้ว่า RFID จะเป็นระบบที่มีจุดเด่นตรงความยืดหยุ่นและข้อดีอีกสารพัดในตัวเอง แต่อุตสาหกรรมของ RFID กลับเป็นไปอย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนักทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุที่สำคัญคือ ความกระจัดกระจายของมาตรฐาน จากการที่ผู้ผลติอุปกรณ์ RFID ต่างฝ่ายต่างก็ผลิตอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐานของตนเองเป็นหลักและไม่มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ให้กันและกัน ไม่ว่าจะเป็นความถี่ที่ใช้งาน หรือโปรโตคอล (Protocol) เรายังไม่สามารถนำแท็กจากผู้ผลิตรายหนึ่งมาใช้กับตัวอ่านข้อมูลของผู้ผลิตอีกรายหนึ่งหรือในทางกลับกันได้ นี่เป็นอุปสรรคสำคัญของการเติบโตของระบบ RFID
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มีองค์กรส่วนกลางเข้ามาทำการจัดระเบียบของเหล่ามาตรฐานที่ว่านั้นให้มีความเป็นหมวดหมู่มากยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตาม หลายองค์กรได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และได้เริ่มมีการพัฒนาระบบมาตรฐานขึ้นมาทั้งในยุโรป และอเมริกา โดยหน่วยงาน ANSI's X3T6 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ผลิตและผู้ใช้งานระบบ RFIDในอเมริกา ได้กำลังทำการพัฒนามาตรฐานของระบบ RFID ที่ความถี่ 2.45 GHz ขึ้นมา หรือองค์กร ISO ก็ได้มีมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้ระบบ RFID กับงานปศุสัตว์ออกมาแล้ว คือ ISO 11784 และ 11785ในขณะที่ระบบบาร์โค้ดมีการเติบโต และใช้งานกันอย่างกว้างขวางเนื่องจากมีระบบมาตรฐานรองรับ ดังนั้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้ใช้งาน จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ระบบ RFID มีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต
การพัฒนาระบบ RFID มิได้มีจุดประสงค์เพื่อมาแทนที่ระบบอื่นที่มีการพัฒนามาก่อนหน้า เช่นระบบบาร์โค้ด แต่เป็นการเสริมจุดอ่อนต่างๆ ของระบบอื่น ซึ่งแม้ว่า RFID จะเป็นระบบที่มีจุดเด่นตรงความยืดหยุ่นและข้อดีอีกสารพัดในตัวเอง แต่อุตสาหกรรมของ RFID กลับเป็นไปอย่างไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยนักทั้งนี้เนื่องมาจากสาเหตุที่สำคัญคือ ความกระจัดกระจายของมาตรฐาน จากการที่ผู้ผลติอุปกรณ์ RFID ต่างฝ่ายต่างก็ผลิตอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐานของตนเองเป็นหลักและไม่มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ให้กันและกัน ไม่ว่าจะเป็นความถี่ที่ใช้งาน หรือโปรโตคอล (Protocol) เรายังไม่สามารถนำแท็กจากผู้ผลิตรายหนึ่งมาใช้กับตัวอ่านข้อมูลของผู้ผลิตอีกรายหนึ่งหรือในทางกลับกันได้ นี่เป็นอุปสรรคสำคัญของการเติบโตของระบบ RFID
ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้มีองค์กรส่วนกลางเข้ามาทำการจัดระเบียบของเหล่ามาตรฐานที่ว่านั้นให้มีความเป็นหมวดหมู่มากยิ่งขึ้นอย่างไรก็ตาม หลายองค์กรได้ตระหนักถึงปัญหานี้ และได้เริ่มมีการพัฒนาระบบมาตรฐานขึ้นมาทั้งในยุโรป และอเมริกา โดยหน่วยงาน ANSI's X3T6 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ผลิตและผู้ใช้งานระบบ RFIDในอเมริกา ได้กำลังทำการพัฒนามาตรฐานของระบบ RFID ที่ความถี่ 2.45 GHz ขึ้นมา หรือองค์กร ISO ก็ได้มีมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้ระบบ RFID กับงานปศุสัตว์ออกมาแล้ว คือ ISO 11784 และ 11785ในขณะที่ระบบบาร์โค้ดมีการเติบโต และใช้งานกันอย่างกว้างขวางเนื่องจากมีระบบมาตรฐานรองรับ ดังนั้นความร่วมมือระหว่างผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้ใช้งาน จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ระบบ RFID มีการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)